หัวใจชายหนุ่ม
ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘
ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ “ประพันธ์ ประยูรสิริ” เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของสังคมไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม” (นักเรียนนอก)
ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ
สุวัฒน์” เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญในพระราชดำริของพระองค์ในการค่อยๆ
ปรับเปลี่ยนรับเอาอาริยะธรรมตะวันตกเข้ามาให้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของไทยโดยทรงสื่อพระราชดำรินั้นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างแยบยน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
1.บอกความเป็นมาและประวัติของผู้แต่งเรื่องหัวใจชายหนุ่มได้
2.อธิบายลักษณะรูปแบบของการเขียนจดหมายได้อย่างเข้าใจ
3.ได้รู้ความหมายของแต่จะจดหมายมีข้อคิดที่มีคุณค่าอย่างไรบ้าง
4.ได้เรียนรู้ความหมายของศัพท์โบราณ
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๖)
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ตลอดระยะเวลา๑๕ปีที่ทรงครองราชย์(พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๖๘)ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ
ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ
และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานหลายประเภท เช่น บทละคร
บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น พระบรมราโชวาท พระราชหัตถเลขา
และทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี
อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า
นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ.๒๔๑๕ พระองค์ยังได้รับการประกาศยกย่องจากองการการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ไทย
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นนวนิยายร้อนแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง ๑๘
ฉบับในเรื่อง ดังนี้
๑) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่
๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖-
จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ. ไว้
๒) คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ
ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
๓) คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน....” “แต่เพื่อน...” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์
เช่น “แต่เพื่อนที่ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ ๑๐) มีเพียง ๙ ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
๔) การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๔
เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด แต่ฉบับที่ ๑-๑๓ ใช้ชื่อ “ประพันธ์”
๕) ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ ๑๔ เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด
เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์